B-2 stealth bomber
B-2 stealth bomber ได้รวมการปฏิวัติทางเทคนิคด้านอวกาศ
และการออกแบบและก้าวเข้าสู่โลกอากาศยานที่ก้าวหน้าที่สุด B-2 มีคุณสมบัติพิเศษเหมือนปีกบินได้ ที่สามารถบรรทุกอาวุธนิวเคลียร์ และอาวุธ
ธรรมดา B-2 ยังสามารถปฏิบัติการโดยใช้เครื่องบินคุ้มกัน
น้อยกว่าเครื่องบินทิ้งระเบิด ทั่วๆไป ความสามารถในการปฏิบัติการไกลทำให้
มันโจมตีที่หมายได้ทุกแห่งในโลก โดยปฏิบัติการจากฐานในสหรัฐฯ
และการที่มันสามารถบรรทุกน้ำหนักได้มาก มันจึงสามาถโจมตีที่หมายได้ถึงแปดแห่งในการออกปฏิบัติการครั้งหนึ่ง
B-2 มีคุณสมบัติ เฉพาะตัวที่ตรวจจับได้ต่ำมากจึงทำ
ให้สามารถฝ่าแนวป้องกันไปโจมตีเป้าหมายและกลับที่ตั้งอย่างปลอดภัย
B-2 สร้างโดยบริษัท Northrop
Grumman and Vought. B-2 ลำแรกออกจากโรงงานที่ palmdale,calif, ในเดือน พ.ย. 1988. และบินครั้งแรกวันที่ 17 เดือน ก.ค. 1989
ข้อมูลจำเพาะ
เครื่องยนต์
|
Genral Electric F118-GE-100
|
จำนวนเครื่องยนต์
|
4
|
แรงขับเครื่องยนต์
|
19,000 lbs
|
ความยาวของปีก
|
172 ft.
|
ความยาวลำตัว
|
69 ft.
|
ความเร็ว
|
475 ไมล์ /ช.ม
|
น้ำหนัก
เปล่า
|
100,000 to 110,000 lbs
|
น้ำหนัก
วิ่งขึ้น
|
400,000 lbs
|
ระยะทำการบิน
|
มากกว่า 11,515 ไมล์
|
เพดานบิน
|
50,000 ฟุต
|
จำนวนเจ้าหน้าที่
|
2 คน (นักบิน และหัว
หน้าปฏิบัติการ)
|
อาวุธ
|
สามารถบรรทุกได้ทั้ง
นิวเคลียและธรรมดา รวมทั้งระเบิดหย่อนสามารถ บรรทุก ระเบิดได้ถึง 50,000 ปอนด์
|
เครื่องบินขับไล่สเตลท์ดูคล้ายกับปีกขนาดใหญ่ รูปร่างของสเตลท์ทำให้เรดาห์ซึ่งเป็นคลื่นวิทยุที่ใช้ตามรอยเครื่องบินในอากาศตรวจจับไม่ได้ สเตลท์มีรูปร่างแบบราบเรียบ สร้างจากวัสดุพิเศษที่ไม่สะท้อนสัญญาณวิทยุ ดังนั้น จึงไม่มีภาพของมันแสดงขึ้นบนจอเรดาร์
เครื่องบินทิ้งระเบิด B-2 stealth bomber มีสารเคลือบที่ดูดซับคลื่นเรดาห์อยู่ จึงต้องเก็บไว้ในโรงเก็บเครื่องบินที่มีเครื่องปรับอากาศเท่านั้น
เทคโนโลยี Stealth

เทคโนโลยี Stealth หรือ LO technology
(low observable technology) ก็คือเทคโนโลยีล่องหน ซึ่งไม่ได้ล่องหนจริง ๆ เพียงแต่
ทำให้ตรวจจับได้ยากขึ้นเท่านั้น เพราะเมื่อตรวจจับไม่ได้
ก็ไม่ต่างอะไรกับการล่องหน เทคโนโลยีนี้ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในเครื่องบิน
โดยได้รับแนวความคิดเรื่องรูปทรงมาจากเครื่องบินประเภท Flying Wing จนผลิตออกมาเป็นเครื่องบินรบที่ใช้ปฏิบัติการจริง
อย่าง F-117 และ B-2
Flying Wing ต้นแบบของเครื่องบินล่องหน
ซึ่งเทคโนโลยีล่องหนในเครื่องบินนั้น
จะเป็นการลดการตรวจจับจากเรดาร์ , อินฟาเรด และทางสายตา
โดยการเปลี่ยนแปลงรูปทรงของเครื่องให้เกิดการบิดเบือนคลื่นเรดาร์
แทนที่คลื่นเรดาร์เมื่อมากระทบตัวเครื่องแล้วจะสะท้อนกลับไปในทิศทางเดิม
ก็จะเกิดการหักเหไปทางอื่น ที่ไม่ได้มาจากแหล่งต้นกำเนิด
ทำให้เรดาร์ที่แพร่คลื่นออกมาไม่ได้รับสัญญาณสะท้อนกลับ จึงทำให้ตรวจจับเครื่องบิน Stealth ไม่ได้
นอกจากนี้
ก็ยังมีการใช้วัสดุที่ทำหน้าที่เหมือนกับดักคลื่นเรดาร์
(วัสดุที่มีคุณสมบัติที่เรียกว่า re-entrant
triangles) คือ
เมื่อคลื่นเรดาร์สัมผัสกับพื้นผิว แทนที่จะสะท้อนกลับ
ด้วยโครงสร้างที่ออกแบบมาเป็นพิเศษจะทำให้คลื่นเรดาร์ทะลุเข้าไปในพื้นผิว
และสะท้อนไปมาอยู่ภายในวัสดุนั้นจนคลื่นหมดพลังงานในการเคลื่อนที่
จนไม่มีการสะท้อนคลื่นออกไปยังแหล่งกำเนิด
หรือไม่ก็ใช้การเคลือบพื้นผิวทั้งหมดด้วยวัสดุดูดซับคลื่นเรดาร์เพื่อลดการสะท้อนของเรดาร์
ทางด้านการป้องกันการตรวจการณ์ด้วยสายตานั้น
ก็ทำได้ไม่ยาก เนื่องจากเครื่องบินประเภทนี้ ไม่ได้มีขนาดที่ีใหญ่มาก
เมื่อบินในระดับสูง และความเร็วสูงแล้ว ก็ไม่สามารถมองด้วยตาเปล่า
หรือกล้องส่องทางไกลได้อยู่แล้ว
นอกจากนั้้นยังเพิ่มความตรวจจับยากด้วยการใช้สีด้าน ไม่สะท้อนแสง
และสีที่ออกในโทนมืด
คลื่นรังสีความร้อนยังมีผลอย่างมากต่อการตรวจจับด้วยรังสีอินฟาเรด
หรือที่เราอาจจะคุ้นเคยในชื่อของ การตรวจจับคลื่นความร้อน
อันเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการตรวจจับทางทหาร
ซึ่งคลื่นความร้อนของเครื่องบินก็จะออกมาจากท่อไอเสียของเครื่องบินนั่นเอง

อ้างจาก :
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น